ผลิตภัณฑ์ไม้กับความชื้น

 

bamboo_floor001

 

ปัญหาเกี่ยวกับความชื้นในเนื้อไม้ของทุกผลิตภัณฑ์ไม้มักเกิดจากสาเหตุหลักๆคือ
1. ความชื้นจากพื้นปูน อาจเป็นเพราะช่างรีบปูปาร์เกต์ขณะที่พื้นปูนยังแห้งไม่สนิท หรือยังคงมีความชื้นอยู่ ทีนี้ ความชื้นมันก็ต้องหาทางระบาย ระเหยออก ปูไม้ทับลงไป ก็จะทำให้พื้นเสียหายได้  อย่าเร่งช่างให้รีบปูพื้น ทุกอย่างมีระยะเวลาของมัน หลังจากขัดมันควรปล่อยให้ความชื้นในพื้นคอนกรีตระเหยออกให้หมดก่อน สำหรับพื้นชั้นล่างซึ่งอยู่ใกล้กับดินนั้น ควบคุมยากหน่อย เพราะเราไม่สามารถปล่อยให้ดินคายความชื้นออกได้หมด ดังนั้น ความชื้นในดินจึงระเหยขึ้นตลอดเวลา โดยเฉพาะในฤดูฝน จึงอยากแนะนำว่า ควรเลือกวัสดุปูพื้นชั้นล่างเป็นกระเบื้องเพื่อป้องกันปัญหา แต่ทั้งนี้ หากต้องการปูปาร์เกต์ ก็มิใช่หมดหนทางเลย ทางออกคือให้ปูพลาสติกแบบหนา ส่วนพื้นคอนกรีตก็ควรผสมน้ำยากันซึมด้วย จะช่วยป้องกันไม่ให้มีปัญหาความชื้นจากพื้นดินครับ

2. ความชื้นจากภายนอก  เช่น น้ำหกลงบนพื้นแล้วไม่เช็ดออก  หรือเปิดหน้าต่างทิ้งไว้ ละอองฝนสาดเข้ามาบนพื้นเป็นเวลานาน ในความเป็นจริง พื้นปาร์เกต์ก็ไม่ได้ถึงกับบอบบางขนาดนั้น เพราะมีการทาน้ำยาเคลือบรักษาเนื้อไม้หลายชั้น แต่อาจจะเป็นปัญหาเรื่องรอยต่อริมผนังที่ไม่สนิท (เนื่องจากต้องเว้นไว้เพื่อป้องกันการขยายตัวของไม้) ทำให้น้ำซึ่งเป็นของเหลวไหลซึมเข้าไปทำความเสียหายได้  ทั้งนี้ การติดตั้งตัวจบ บัวเชิงผนัง ก็ช่วยป้องกันได้ระดับหนึ่ง วิธีป้องกันปัญหานี้ คือ ใส่ใจกับการดูแลรักษาบ้านครับ ทำน้ำหกก็เช็ดซะ อย่าลืมปิดหน้าต่างก่อนออกจากบ้าน เป็นต้น

3. ความชื้นจากตัวปาร์เกต์เอง ไม้ที่นำมาใช้ทำเป็นพื้นไม้ปาร์เกต์ไม่ได้ผ่านการอบไล่ความชื้น ทำให้เวลาอากาศเปลี่ยนแปลง หรือบริเวณที่โดนแดดส่องมาก หรือบางแห่งโดนความชื้นไม่เท่ากัน ใช้ไปนานๆ ไม้ปาร์เกต์ก็อาจมีปัญหาพองตัว บวมขึ้นได้ หรืออาจจะหดตัวได้เหมือนกัน ตรงนี้ ต้องอธิบายไว้ด้วยครับว่า ไม้ปาร์เกต์นั้นเป็นไม้ธรรมชาติ ซึ่งเป็นธรรมดาที่จะมีการยืดหดตัวอยู่ตลอด แต่จะมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น 


ผู้ที่คิดจะใช้ผลิตภัณฑ์ไม้จึงควรมีความเข้าใจเกี่ยวกับความชื้นในเนื้อไม้ ว่าจะมีผลต่อพื้นผลิตภัณฑ์ไม้อย่างไร โดยทั่วไปผลิตภัณฑ์ไม้จะต้องผ่านการอบเพื่อให้ได้ความชื้นในเนื้อไม้ที่เหมาะสม และหลังจากกระบวนการผลิตไปจนถึงมือผู้ใช้งานความชื้นในเนื้อไม้จะเพิ่มขึ้นตามสภาพภูมิอากาศ อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ไม้มีการขยายตัว ผู้ใช้งานจึงควรควบคุมไม่ให้มีความชื้นจากปัจจัยอื่นๆเท่าที่สามารถทำได้ เช่นหากเป็นการปูพื้นไม้บนพื้นคอนกรีตควรทิ้งพื้นคอนกรีตไว้ระยะหนึ่งเพื่อไม่ให้ความชื้นจากพื้นคอนกรีตทำให้มีผลกับพื้นไม้ที่จะติดตั้ง หรืออาจปูวัสดุป้องกันความชื้น เช่น แผ่นพลาสติก เป็นต้น หรือหลีกเลี่ยงการนำผลิตภัณฑ์ไม้ไปใช้งานในลักษณะที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงความชื้นมากๆ เช่นการนำไม้เนื้ออ่อนไปใช้งานกลางแจ้งโดยไม่มีการป้องกันการเปลี่ยนแปลงความชื้นในเนื้อไม้ เช่น การทา Wood oil , Wood Stain หรือควรเลือกชนิดไม้ให้เหมาะสมกับการใช้งานจริง เป็นต้น

 

การอบไม้ก่อนนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ
    
ตามธรรมชาติไม้ที่ยังยืนต้นอยู่จะมีน้ำอยู่ในเซลล์เพื่อหล่อเลี้ยงต้นไม้ ซึ่งน้ำหนักของน้ำในเซลล์เหล่านี้อาจมากกว่าน้ำหนักของตัวเซลล์ไม้ด้วยซ้ำ หลังจากมีการตัดไม้มาใช้งาน ไม้จะเริ่มสูญเสียน้ำออกมาจากเซลล์โดยจะมีการคายน้ำออกมาอย่างรวดเร็วในช่วงแรกๆและค่อยๆลดอัตราการคายน้ำลงซึ่งหากปล่อยให้ไม้แห้งเองตามธรรมชาติอาจต้องใช้เวลานานมากกว่าจะนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ไม้ ซึ่งการหดตัวนี้จะเริ่มเกิดขึ้นเมื่อไม้มีความชื้นประมาณ25-30% และจะยังคงหดตัวเรื่อยไปจนไม้ไม่มีความชื้นในเนื้อไม้เลย(ความชื้น=0%)

 

sawmill11700630941170063224


ดังนั้นในอุตสาหกรรมไม้ที่ได้มาตรฐานจึงนิยมการนำไม้มาอบเพื่อ

1. ให้ได้ไม้ที่มีความชื้นใกล้เคียงกันที่สุดเพื่อหลีกเลี่ยงการหดตัวที่ไม่เท่ากัน

2. เพื่อประหยัดเวลาในการปล่อยให้ไม้แห้งลงเองตามธรรมชาติ

3. เพื่อความสะดวกรวดเร็วและความสวยงามในขั้นตอนการทำสี  

ปัญหาในงานไม้ส่วนใหญ่นอกเหนือจากการประกอบหรือขึ้นรูป จึงเกิดขึ้นจากการอบไม้ที่ไม่ได้มาตรฐาน ทำให้ไม้มีลักษณะแข็งนอกหรือแข็งใน ในเนื้อไม้จะยังมีความเค้น(Stress)อยู่ เมื่อนำไปประกอบหรือผลิตก็ย่อมเกิดปัญหาต่อผลิตภัณฑ์ไม้นั้นๆ โดยเฉพาะพื้นไม้หรือเป็นผลิตภัณฑ์ที่สัมผัสกับอากาศ เช่น เฟอร์นิเจอร์สนาม เป็นต้น

ดังนั้น หากต้องการผลิตภัณฑ์ไม้ที่ได้มาตรฐาน ควรสอบถามจากผู้ผลิตหรือจำหน่ายเกี่ยวกับขั้นตอนที่ใช้ในการอบไม้ และหากเป็นสินค้าที่มีราคาค่อนข้างสูงการยอมจ่ายแพงกว่าอาจคุ้มค่ากว่าการเลือกโดยใช้ราคาหรือรูปลักษณ์อย่างเดียวในการตัดสินใจ

 

เครื่องมือ ที่ใช้วัดความชื้นในไม้ มี 3 ชนิด คือ

http://new.baannatura.com/public/images/real_wood/Wood_Property/WoodProperty4.jpgเครื่องวัดความชื้นชนิดที่ใช้ตะปูตัวเดียว วิธีการวัด ตอกตะปู 1 ตัว ลงไปใน เนื้อไม้ ความชื้นที่มีอยู่ในไม้ จะผ่านตะปูเข้าไปที่มาตรวัดความชื้น เข็มจะเคลื่อน ไปตามตัวเลขบอกระดับความชื้นในไม้

เครื่องวัดความชื้นชนิดที่ใช้ตะปู 2 ตัว วิธีการวัด ตอกตะปู 2 ตัว ลงไปในเนื้อไม้ ความชื้นในไม้จะผ่านตะปูทั้ง 2 ตัว เข้าไปในเครื่องวัด เพื่อบอกตัวเลขระดับความชื้น เช่นเดียวกับ เครื่องวัดแบบตะปูตัวเดียว

เครื่องวัดความชื้นแบบดิจิตอล วิธีการวัด วัดได้เฉพาะไม้ที่ไสเรียบแล้ว ใช้เครื่องทาบลง ไปบนผิวหน้าไม้ ที่จะวัด กดให้แนบสนิทกับไม้ ตัวเลขบนเครื่องวัดจะขึ้น - ลง อยู่ประมาณ 1 นาที จึงหยุดนิ่งแสดงถึงระดับความชื้นในไม้

 

 

คุณสมบัติของไม้ที่เปลี่ยนแปลงเมื่อความชื้นเปลี่ยนแปลง

1. ขนาดของไม้ ไม้มียืดและหดตัว  โดยขนาด กว้าง x ยาว x สูง ของชิ้นไม้ที่มีการเปลี่ยนตามความชื้นโดยด้านกว้าง ยาว และสูงจะมีการเปลี่ยนแปลงไม่เท่ากัน ไม้จะยืดหดตัวเมื่อเนื้อไม้เกิดการสูญเสียความชื้นในผนังเซลล์ก็จะเกิดการหดตัว และในทางตรงกันข้าม เมื่อเนื้อไม้มีปริมาณความชื้นเพิ่มขึ้นในระดับที่ต่ำกว่าจุดหมาด ไม้ก็จะพองตัว

2. ความแข็งแรงของไม้จะลดลงหากความชื้นเพิ่มขึ้น

3. ความทนทานต่อแมลง และเห็ดราจะดีขึ้นเมื่อความชื้นของไม้ลดลง

4. ค่าความเป็นฉนวนไฟฟ้าจะลดลงเมื่อค่าความชื้นของไม้เพิ่มขึ้น

5. ค่าการติดกาวจะดีขึ้น เมื่อค่าความชื้นของไม้ลดลง
6. การนำความร้อนน้อยลงถ้าความชื้นของไม้ลดลง

BACK

ปรับปรุงจาก : www.108wood.com, www.baannatura.com, www.rubber.co.th